รูปภาพจาก Google
วัฏจักรฟอสฟอรัส (phosphorus cycle) หมายถึง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของธาตุฟอสฟอรัส และสารประกอบฟอสฟอรัสตามสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนด้วยกระบวนการทางเคมี และการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทั้งในหิน ดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิต จากระบบหนึ่งไปสู่ระบบหนึ่ง หมุนเวียนเป็นวัฏจักร
สถานะฟอสฟอรัสที่พบในธรรมชาติ
ฟอสฟอรัสในรูปของแข็ง (Solid Phosphorus )
• หินฟอสฟอรัส
– Hydroxyapatite : Ca10(PO4)6(OH)2
– Carbonate Fluorapatite : (Ca,H2O)10(PO4,CO3)6(F,OH)2
– Variscite, Strengite : AlPO4.2H2O,FePO4.2H2O
– Crandallite : CaAl3(PO4)2(H)2.H2O
– Wavellite : Al3(OH)3(PO4)2
• ของแข็งผสม
– ฟอสฟอสรัสในดินเหนียวเช่น Kaolinite : [Si2O5Al2(OH)4.(PO4)]
– ฟอสฟอสที่มีองค์ประกอบของโลหะ : [Me(OH)x(PO4)3-x/3]
– ฟอสฟอรัสอินทรีย์สารในดินเหนียว : [Si2O5Al2(OH)4.ROP]
• สารแขวนลอย หรือ สารละลายฟอสฟอรัสอินทรีย์สาร
– ฟอสฟอรัสในแบคทีเรีย : ฟอสโฟลิปิด
– ฟอสฟอรัสในพืช : ฟอสโฟโปรตีน, กรดนิวคลีอิก, โพลีแซคคาไรด์ ฟอสเฟต
ฟอสฟอรัสในรูปของแข็ง (Solid Phosphorus )
• หินฟอสฟอรัส
– Hydroxyapatite : Ca10(PO4)6(OH)2
– Carbonate Fluorapatite : (Ca,H2O)10(PO4,CO3)6(F,OH)2
– Variscite, Strengite : AlPO4.2H2O,FePO4.2H2O
– Crandallite : CaAl3(PO4)2(H)2.H2O
– Wavellite : Al3(OH)3(PO4)2
• ของแข็งผสม
– ฟอสฟอสรัสในดินเหนียวเช่น Kaolinite : [Si2O5Al2(OH)4.(PO4)]
– ฟอสฟอสที่มีองค์ประกอบของโลหะ : [Me(OH)x(PO4)3-x/3]
– ฟอสฟอรัสอินทรีย์สารในดินเหนียว : [Si2O5Al2(OH)4.ROP]
• สารแขวนลอย หรือ สารละลายฟอสฟอรัสอินทรีย์สาร
– ฟอสฟอรัสในแบคทีเรีย : ฟอสโฟลิปิด
– ฟอสฟอรัสในพืช : ฟอสโฟโปรตีน, กรดนิวคลีอิก, โพลีแซคคาไรด์ ฟอสเฟต
ฟอสฟอรัสในรูปสารละลาย (Soluble Phosphorus )
• Orthophosphate : H2PO43-, HPO42-, PO4 3- และCaHPO4
• ฟอสฟอรัสที่ตกตะกอนในรูปอนินทรีย์สาร
– ไพโร ฟอสเฟต : HP2O7 3-, P2O4–, CaP2O72- และ MnP2O72-
– ไตรโพลี ฟอสเฟต : HP3O104-, P3O103- และ CaP3O102-
– ไตรเมตา ฟอสเฟต : HP3O92-, P3O93- และCaP3O9–
• ฟอสฟอรัสในรูปอินทรีย์สาร
– ฟอสเฟตในน้ำตาล : กลูโคเซล ฟอสเฟต , อะดิโนไซน์
– Inositol Phosphates : โมโนฟอสเฟต
– ฟอสโฟลิปิด : Inositol Mono and Hexaphosphate
– ฟอสฟอรัสในโปรตีน : Glycerophosphate, Phosphatidic Acids และ Phosphocreatine
• Orthophosphate : H2PO43-, HPO42-, PO4 3- และCaHPO4
• ฟอสฟอรัสที่ตกตะกอนในรูปอนินทรีย์สาร
– ไพโร ฟอสเฟต : HP2O7 3-, P2O4–, CaP2O72- และ MnP2O72-
– ไตรโพลี ฟอสเฟต : HP3O104-, P3O103- และ CaP3O102-
– ไตรเมตา ฟอสเฟต : HP3O92-, P3O93- และCaP3O9–
• ฟอสฟอรัสในรูปอินทรีย์สาร
– ฟอสเฟตในน้ำตาล : กลูโคเซล ฟอสเฟต , อะดิโนไซน์
– Inositol Phosphates : โมโนฟอสเฟต
– ฟอสโฟลิปิด : Inositol Mono and Hexaphosphate
– ฟอสฟอรัสในโปรตีน : Glycerophosphate, Phosphatidic Acids และ Phosphocreatine
รูปภาพจาก Google
1. ฟอสฟอรัสในดิน และหิน
ฟอสฟอรัสในแหล่งหิน
ฟอสฟอรัสในหิน หรือที่เรียกว่า หินฟอสเฟต ถือเป็นแหล่งฟอสฟอรัสปฐมภูมิที่เป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรฟอสฟอรัส เพราะฟอสฟอรัสที่คงสถานะอยู่บนโลกส่วนใหญ่มาจากแหล่งของหินเป็นหลัก ก่อนที่จะมีการแตกย่อย และปลดปล่อยเป็นฟอสฟอรัสในดิน น้ำ และในพืช และสัตว์ต่อไป
ฟอสฟอรัสในแหล่งหิน
ฟอสฟอรัสในหิน หรือที่เรียกว่า หินฟอสเฟต ถือเป็นแหล่งฟอสฟอรัสปฐมภูมิที่เป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรฟอสฟอรัส เพราะฟอสฟอรัสที่คงสถานะอยู่บนโลกส่วนใหญ่มาจากแหล่งของหินเป็นหลัก ก่อนที่จะมีการแตกย่อย และปลดปล่อยเป็นฟอสฟอรัสในดิน น้ำ และในพืช และสัตว์ต่อไป
หินฟอสเฟต หมายถึง หินที่มีองค์ประกอบของสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต หรือ ที่เรียกว่า แร่ฟอสฟอไรท์ (Phosphorites) [(Ca3PO4)2] เป็นหลัก ซึ่งฟอสเฟตมักพบในรูป Ca5[(PO4)3(F)] หรือ แร่อะพาไทต์ (Apatite)
แร่ฟอสฟอไรท์มักพบแร่ที่เป็นกัมมันตรังสีอยู่ด้วย ได้แก่ ยูเรเนียม ประมาณ 20-300 ppm และทอเรียม ประมาณ 1-5 ppm
แร่อะพาไทต์ (Apatite) ที่พบในธรรมชาติจะมีลักษณะเป็นหินสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล และสีดำ แร่นี้ที่พบส่วนใหญ่เกิดจาก
– การแปรเปลี่ยนมาจากหินอัคนี
– หินฟอสเฟตที่เป็นสินแร่จากการตกตะกอน และทับถมในทะเล
– หินฟอสเฟตที่เกิดจากการสะสม และทับถมของมูลค้างคาว และนกทะเล
– การแปรเปลี่ยนมาจากหินอัคนี
– หินฟอสเฟตที่เป็นสินแร่จากการตกตะกอน และทับถมในทะเล
– หินฟอสเฟตที่เกิดจากการสะสม และทับถมของมูลค้างคาว และนกทะเล
รูปภาพจาก Google
ฟอสฟอรัสในหินที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่พบอยู่ในรูปของแร่อะพาไทต์ ซึ่งมีประมาณ 5 ชนิด คือ
– Carbonate apatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaO3
– Fluorapatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaF2
– Chloroapatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaCl2
– Hydroxy apatite : (Ca3[(PO4)2])3.Ca(OH)2
– Sulfate apatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaSO4
– Fluorapatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaF2
– Chloroapatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaCl2
– Hydroxy apatite : (Ca3[(PO4)2])3.Ca(OH)2
– Sulfate apatite : (Ca3[(PO4)2])3.CaSO4
หินฟอสเฟตเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในการผลิตปุ๋ยฟอสเฟตสำหรับในในแปลงเกษตร ซึ่งอาจใช้ในรูปของหินฟอสเฟตที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการปรับปรุงแร่ ซึ่งปุ๋ยฟอสเฟตประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เนื่องจากยังอยู่ในรูปของสินแร่ แต่มีราคาถูกกว่าปุ๋ยฟอสฟอรัสแบบปรุบปรุงแร่ และจะให้ฟอสฟอรัสออกมาอย่างต่อเนื่องในอนาคตจากการผุกร่อน และการย่อยสลายจากจุลินทรีย์
ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตอีกประเภทจะเป็นหินฟอสเฟตที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงแร่เพื่อให้ปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมามากที่สุด เช่น การย่อยด้วยกรด และการให้ความร้อน เป็นต้น ซึ่งจะได้ปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าปุ๋ยฟอสฟอรัสประเภทแรก แต่มีข้อเสีย คือ มีราคาสูง และให้ฟอสฟอรัสในช่วงระยะสั้น รวมถึงอาจเกิดการชะล้างซึมลงดินหรือละลายในน้ำมากขึ้น
ฟอสฟอรัสในดิน
สารประกอบฟอสฟอรัสในดินแบ่งเป็น 3 แหล่ง คือ
• สารประกอบฟอสฟอรัสที่มาจากการแตกสลายหรือการผุกร่อน และการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ของหิน ตามธรรมชาติ
• สารประกอบฟอสฟอรัสที่มาจากการย่อยสลายของซากพืช และซากสัตว์ตามธรรมชาติ
• สารประกอบฟอสฟอรัสที่มาจากการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตโดยมนุษย์
สารประกอบฟอสฟอรัสในดินแบ่งเป็น 3 แหล่ง คือ
• สารประกอบฟอสฟอรัสที่มาจากการแตกสลายหรือการผุกร่อน และการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ของหิน ตามธรรมชาติ
• สารประกอบฟอสฟอรัสที่มาจากการย่อยสลายของซากพืช และซากสัตว์ตามธรรมชาติ
• สารประกอบฟอสฟอรัสที่มาจากการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตโดยมนุษย์
ฟอสฟอรัสในดินบางส่วนจะถูกพืชดูดซึมเข้าไปใช้สำหรับการเจริญเติบโต และพบเป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อในพืช และต่อเนื่องสู่ร่างกายสัตว์ เช่น กรดนิวคลีอิก ฟอสโฟลิปิด และน้ำตาล เป็นต้น บางส่วนจะถูกชะละลายในน้ำ ไหลลงสู่แหล่งน้ำกลายเป็นสารประกอบฟอสเฟตในน้ำต่อไป
2. ฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำ และน้ำเสีย
ฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำเสีย สามารถพบได้ในรูปของแข็งหรือสารแขวนลอย และสารละลาย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1 ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) หรือ ฟอสฟอรัสละลายน้ำ (Soluble Reactive Phosphorus) เป็นสารประกอบฟอสฟอรัสที่ละลายได้ดีน้ำ จัดเป็นแหล่งฟอสฟอรัสที่มีความสำคัญต่อแพลงก์ตอนพืชสำหรับนำไปใช้
เพื่อการเจริญเติบโต ได้แก่
– Trisodium Phosphate (Na3PO4)
– Disodium Phosphate (Na2HPO4)
– Monosodium Phosphate (NaH2PO4)
– Diammonium Phosphate ((NH4)2HPO4)
ฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำเสีย สามารถพบได้ในรูปของแข็งหรือสารแขวนลอย และสารละลาย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1 ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) หรือ ฟอสฟอรัสละลายน้ำ (Soluble Reactive Phosphorus) เป็นสารประกอบฟอสฟอรัสที่ละลายได้ดีน้ำ จัดเป็นแหล่งฟอสฟอรัสที่มีความสำคัญต่อแพลงก์ตอนพืชสำหรับนำไปใช้
เพื่อการเจริญเติบโต ได้แก่
– Trisodium Phosphate (Na3PO4)
– Disodium Phosphate (Na2HPO4)
– Monosodium Phosphate (NaH2PO4)
– Diammonium Phosphate ((NH4)2HPO4)
2.2 โพลีฟอสเฟต (Polyphosphate) เป็นสารประกอบฟอสฟอรัสที่พบมากในแหล่งน้ำเสียที่มาจากส่วนผสมของสารซักล้าง และทำความสะอาดต่างๆ ทั้งจากครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อแตกตัวจะได้สารออร์โธฟอสเฟตออก ได้แก่
– Sodium Hexametaphosphate (Na3(PO4)6)
– Sodium Triphosphate (Na5P3O10)
– Tetrasodium Pyrophosphate (Na4P2O7)
สารออร์โธฟอสเฟต เมื่อถูกไฮโดรไลซ์ในน้ำจะได้สารกลับไปเป็นออโธฟอสเฟต (Orthophosphate)
– Sodium Hexametaphosphate (Na3(PO4)6)
– Sodium Triphosphate (Na5P3O10)
– Tetrasodium Pyrophosphate (Na4P2O7)
สารออร์โธฟอสเฟต เมื่อถูกไฮโดรไลซ์ในน้ำจะได้สารกลับไปเป็นออโธฟอสเฟต (Orthophosphate)
2.3 อินทรีย์ฟอสเฟต (Organic Phosphate) เป็นสารประกอบชีวภาพที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทั้งในพืช และในสัตว์ ได้แก่
– Nucleic Acid
– Phospholipids
– Sugar Phosphate
– Nucleic Acid
– Phospholipids
– Sugar Phosphate
ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปต่างในแหล่งน้ำ และแหล่งน้ำเสียจะถูกแพลงก์ตอนพืชนำไปใช้สำหรับกระบวนการเจริญเติบโต และการแพร่จำนวน ซึ่งมักพบปรากฏการณ์ที่เกิดจากปริมาณฟอสฟอรัสในน้ำมากเกินไปที่เรียกว่า ยูโทรฟิเคชั่น มีน้ำมีลักษณะเปลี่ยนสีตามสีของแพลงก์ตอนพืชที่แพร่กระจายมากในแหล่งน้ำ เช่น น้ำมีสีเขียว น้ำมีสีแดง เป็นต้น แต่โดยทั่วไปจะพบเห็นน้ำมีสีเขียว ซึ่งนั้นแสดงว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณฟอสฟอรัสมาก
แพลงก์ตอนพืชบางส่วนจะถูกกินเป็นอาหารของสัตว์น้ำขนาดเล็ก ทำให้ฟอสฟอรัสเข้าเป็นองค์ประกอบของสัตว์น้ำต่อไป และแพลงก์ตอนพืชบางส่วนจะมีวัฏจักรตายไปในระบบจะเกิดการเน่าสลายกลายเป็นสารประกอบฟอสฟอรัสที่ละลายได้ในน้ำ และบางส่วนจะเกิดปฏิกิริยาเคมีในน้ำตกตะกอนลงสู่ท้องน้ำ
3. ฟอสฟอรัสในสิ่งมีชีวิต
ฟอสฟอรัสในพืช
ฟอสฟอรัสในพืชพบเป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อในราก ลำต้น ดอก และผล โดยทำหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยเร่ง และส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย ช่วยให้รากดูดซึมน้ำ และแร่ธาตุๆได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยกระตุ้นการออกดอก และการเติบโตของผล และเมล็ด
ฟอสฟอรัสในพืช
ฟอสฟอรัสในพืชพบเป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อในราก ลำต้น ดอก และผล โดยทำหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยเร่ง และส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย ช่วยให้รากดูดซึมน้ำ และแร่ธาตุๆได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยกระตุ้นการออกดอก และการเติบโตของผล และเมล็ด
พืชสามารถดูดซึมฟอสฟอรัสในดินสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ได้ใน 2 รูป คือ H2PO4– (Dihydrogen phosphate ion) และ HPO42- (Monohydrogen phosphate ion)
เมื่อพืชตายไปจะเกิดการเน่าสลาย ทำให้เกิดเป็นสารประกอบฟอสฟอรัสแทรกตัวอยู่ในดิน บางส่วนจะเข้าสู่ฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำจากการละลายน้ำ บางส่วนจะถูกดูดซึมจากพืชกลับเข้าสู่ฟอสฟอรัสในพืชอีกครั้ง
ฟอสฟอรัสในสัตว์ และมนุษย์
ฟอสฟอรัสที่พบในร่างกายสัตว์ และมนุษย์จะพบมากเป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน ซึ่งจะอยู่ในรูปของเกลืออนินทรีย์ฟอสฟอรัสเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาจะพบในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ได้แก่ ฟอสโฟโปรตีน กรดนิวคลีอิก ฟอสโฟลิปิด และเฮกโซสฟอสเฟต ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย
ฟอสฟอรัสที่พบในร่างกายสัตว์ และมนุษย์จะพบมากเป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน ซึ่งจะอยู่ในรูปของเกลืออนินทรีย์ฟอสฟอรัสเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาจะพบในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ได้แก่ ฟอสโฟโปรตีน กรดนิวคลีอิก ฟอสโฟลิปิด และเฮกโซสฟอสเฟต ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย
หน้าที่ของฟอสฟอรัสในร่างกาย
– เป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน
– ช่วยในการดูดซึมวิตามินดี และกระตุ้นการทำงานของวิตามินดีในร่างกาย
– เป็นสารบัฟเฟอร์ รักษาสถาพความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
– เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก ที่เป็นสารถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
– ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต
– เป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบกระแสประสาท
– กระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
– เป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน
– ช่วยในการดูดซึมวิตามินดี และกระตุ้นการทำงานของวิตามินดีในร่างกาย
– เป็นสารบัฟเฟอร์ รักษาสถาพความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
– เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก ที่เป็นสารถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
– ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต
– เป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบกระแสประสาท
– กระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
เมื่อร่างกายสัตว์ และมนุษย์ตายไป และถูกย่อยสลาย ฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปของเกลืออนินทรีย์ และฟอสฟอรัสอินทรีย์ที่แทรกตัวอยู่ในดิน และน้ำ ต่อไป
ที่มา : https://www.siamchemi.com/วัฏจักรฟอสฟอรัส/